Server & Storage
Server
เซิร์ฟเวอร์ (Server) ในทาง Computing คือโปรแกรม Computer หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณหรือประมวลผลตามที่ผู้ใช้หรือ Application ต้องการ และพร้อมให้บริการเมื่อใดก็ตามที่มีการร้องขอบริการ รองรับการให้บริการได้หลากหลายและสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันระหว่างผู้ใช้ ตัวอย่างการใช้งานได้แก่ Web Server, Database Server, Mail Server, File Server, Application Server และ Virtual Server เป็นต้น
เซิร์ฟเวอร์จะแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปที่สามารถรองรับการให้บริการและการประมวลผลขนาดใหญ่ พร้อมให้บริการผู้ใช้ได้ตลอดเวลาเมื่อมีการร้องขอหรือต้องการใช้งาน สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัยสูงมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใน Datacenter ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และได้รับการดูแล (Maintenance) โดยผู้มีประสบการณ์และความรู้ที่ผ่านการอบรมอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการดูแลเซิร์ฟเวอร์ประเภทต่างๆ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของ Physical Server ได้ตามลักษณะ Form Factor ของตัวเครื่อง ซึ่งคือรูปทรงและขนาดของมันนั่นเอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลัก ดังนี้
- Tower Servers – เซิร์ฟเวอร์แบบฟอร์มทาวเวอร์นั้น มีลักษณะเป็นเครื่องแนวตั้ง วางเดี่ยวๆ แบบ Standalone ซึ่งก็มีรูปทรงเหมือน Desktop Computer ทั่วไปนี่เอง ต่างกันที่ Server ทรงนี้จะมีการระบายอากาศที่ถ่ายเทดีกว่า เนื่องจากมีการออกแบบมาให้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นประกอบกันไม่หนาแน่นจนเกินไป
Form Factor รูปทรงนี้ยังถือว่ามีราคาที่ประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่น จังเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กไปถึงกลาง (SMB) ที่มีงบประมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของมันก็มี คือกินพื้นที่เยอะเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่นๆ
- Rack Servers – เซิร์ฟเวอร์แบบ Rack นั้น ออกแบบมาเพื่อติดตั้งในตู้ Rack ในห้อง Data Center มักทำหน้าที่จัดการระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในศูนย์ข้อมูล รองรับปริมาณงานจำนวนมาก ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแบบ Tower ออกแบบมาเป็นรูปทรงแนวนอนมาตรฐาน เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์, UPS หรือ Switch จากแบรนด์ที่แตกต่างกัน สามารถวางติดตั้งทับซ้อนกันในตู้ Cabinet ได้
ฟอร์มแบบ Rack นี้จะใช้หน่วยเรียกขนาดว่า U ซึ่งวัดจากความสูงของตัวเครื่องเท่านั้น (1U = ความสูงประมาณ 4.4 cm) สายไฟที่ใช้เสียบมักถูกจัดการอย่างเรียบง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและถอดออกเพื่อซ่อมบำรุง
- Blade Servers – เบลดเซิร์ฟเวอร์คือ Device ขนาดกะทัดรัด ที่มีลักษณะเป็นกล่อง Composable ภายในเป็นตัว Blade Server ขนาดเล็กติดตั้งอยู่รวมกันหลายๆ ตัว แต่ละตัวมีระบบระบายอากาศ Cooling System ของตนเอง ทุกตัวมักอุทิศตนทำงานให้ Application อย่างเดียวร่วมกัน
เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า Form Factor แบบอื่น จึงมาพร้อมกับราคาที่สูงกว่า อีกหนึ่งข้อดีคือง่ายต่อการซ่อมแซม เพราะสามารถถอดเปลี่ยน Blade แต่ละอันได้เลย นิยมใช้ในองค์กรระดับ Enterprise
- Mainframes – เมื่อช่วงยุค 1990 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้น ถูกคาดการณ์ว่าจะทำหน้าที่เป็น Server ในอนาคต แต่ปัจจุบันกลับไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากราคาที่สูง และโครงสร้างที่ใหญ่ ต้องลงทุนเยอะ ทำให้รูปแบบเซิร์ฟเวอร์ Tower, Rack และ Blade เป็นที่นิยมมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขององค์กรระดับ Enterprise บางที่ยังคงนิยมใช้เมนเฟรมเป็นเซิฟเวอร์อยู่ อาทิเช่น บริษัทการเงินที่ต้องมีการคำนวนมากๆ หรือ ร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มี Tracsaction ตลอดเวลา เป็นต้น
Blade Servers
Rack Server
Tower Server
Server – HPE Portfolio
Storage
storage คืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆของระบบภายในองค์กร โดยอุปกรณ์การจัดเก็บและวิธีการที่จะใช้ในการจัดเก็บนั้นมีความสำคัญพอ ๆ กัน หากเลือกใช้ได้เหมาะสมกับสภาพขององค์กรและการทำงานร่วมกันของทุกคนในองค์กร ก็จะทำให้การเก็บข้อมูลมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลนั้นมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งรูปแบบ DAS รูปแบบ NAS และแบบสุดท้ายคือ SAN โดยแต่ละส่วนจะมีการใช้งานและรูปแบบการเชื่อมต่อที่ต่างกันดังนี้
- DAS Storage
DAS (Direct Attached Storage) เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลที่ต่อตรงเข้ากับ Server หรือ Client เพื่อเพิ่มขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้กับระบบต่างๆ ที่นำมาเชื่อมต่อโดยตรงทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูง แต่จะมีข้อเสียตรงที่ยากต่อการขยายขนาดของระบบในอนาคต
- NAS Storage
NAS (Network Attached Storage) เป็นระบบ Storage ที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบของ File ผ่านระบบเครือข่าย Ethernet เป็นหลัก โดยผู้ใช้งานจะต้องทำการ Mount ข้อมูลไปแสดงผลเป็น Volume หรือ Folder ก่อนใช้งานด้วย SMB, CIFS, NFS โดยมักถูกใช้ในระบบ File Sharing เป็นหลัก และมีใช้งานในองค์กรทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่
- SAN Storage
SAN (Storage Area Network) / Block Storage เป็นระบบ Storage ที่สามารถเชื่อมต่อระยะไกลผ่านระบบเครือข่ายได้ด้วยการส่งข้อมูลแบบ Block บน Ethernet ด้วย iSCSI หรือใช้ Fibre Channel โดยจะสามารถบริหารจัดการเรื่องของการจัดการ Volume, LUN พร้อมความสามารถอื่นๆ บนตัว Storage อย่างเช่นการทำ Snapshot และ Replication ได้ มักถูกใช้ในงานกลุ่ม Database, Virtualization และ Virtual Desktop Infrastructure
Storage – HPE Portfolio
Storage – DellEMC Portfolio
DellEMC PowerStore
- NVMe
- Scale UP and OUT
- Always on data reduction
- Build-in ML engine
DellEMC Unity XT
-Native NAS , iSCSI and Fiber Channel
-Dual Storage Processor
-Full 12GB SAS back end connectivity
DellEMC PowerScale and Isilon
-Leading scale out NAS platform
-OneFS centralized management platform
-Provide massive performance and capacity
Data Backup & ProtectionBackup
หลายๆคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าการ Backup คือการสำรองข้อมูลเพื่อจะได้มีข้อมูลสำรองมาใช้งานได้ในกรณีที่ข้อมูลชุดหลักเกิดมีปัญหาไม่ว่าจะเป็น ปัญหาจากทาง user, ปัญหาจากการโดนโจมตีทาง cyber ต่างๆ ปัญหาจากทาง Physical hardware ซึ่งจะทำให้ระบบของเรามีความมั่นคงและเสถียรยิ่งขึ้นเมื่อเรามีการทำสำรองข้อมูลไว้ และการทำ Backup ที่ดีนั้นควรทำอย่างไร เราจะยกกฎของการ Backup 3-2-1 rule มาเป็นไอเดีบเบื้องต้นสำหรับการเริ่มทำ Backup โดยจะเริ่มจาก
3 – มาจาก “ต้องมี Backup อย่างน้อยจำนวน 3 Copy”
ได้แก่ข้อมูลสำรองหลักต้นฉบับ 1 ชุด และข้อมูลสำรองอีก 2 ชุด (จะได้กระจายข้อมูลไปเก็บหลายๆ อุปกรณ์ได้) ทั้งหมด 3 ชุดได้แก่ Primary Backup + Backup ชุดที่ 2 + Backup ชุดที่ 3 ทำให้ลดโอกาสที่ข้อมูลจะสูญหาย หรือเสียหายลง
2 – มาจาก เก็บ Backup จำนวน 2 Copy ไว้ที่อุปกรณ์แตกต่างกัน
หากเก็บข้อมูลสำรองไว้ในอุปกรณ์เดียวกัน หากมีการเสียหายของอุปกรณ์จะทำให้ข้อมูลที่สำรองท้ังหมดสูญหายไปพร้อมกัน จึงต้องมีทางเลือกในการเก็บข้อมูลสำรอง เช่น Primary Backup ปกติจะอยู่ใน Internal HDD ของ Server, Backup ชุดที่ 2 ก็ควรจะอยู่ใน Internal HDD ของอีก Server นึง หรือ อาจจะเป็นอุปกรณ์อื่นที่ถอดออกได้ เช่น NAS, Tape, External Hard drive, CD, DVD หรือแม้แต่ Floppy disk ก็ได้เช่นกัน
1 – มาจาก “เก็บ Backup อย่างน้อย 1 Copy ที่ Offsite”
การที่เราแยก Backup ไว้แต่ละ Server แล้ว ก็ช่วยลดความเสี่ยง แต่ถ้า Primary Data และ Backup Copy อยู่ในสถานที่เดียวกัน แล้วอยู่มาวันนึงปัญหาที่เกิดขึ้นมันเป็นระดับ Scale ใหญ่ที่ไม่ใช่แค่ Server ที่เก็บ Primary Data พัง แต่เป็นสถานที่นั้นเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ไฟไหม้, น้ำท่วม, ปัญหาทางการเมือง หรือ อื่น ๆ เราจะไม่สามารถใช้งานหรือกู้ข้อมูลได้เลย
ทำให้เราควรจะมี Backup อย่างน้อย 1 Copy เก็บไว้ที่สถานที่อื่น เช่น บริษัท A มี Primary Data และ Backup ชุดที่ 1 เก็บไว้ที่ HQ บริษัทควรจะมี Backup ชุดที่ 2 ที่ Branch ด้วย
Data Backup & ProtectionBackup
หลายๆคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าการ Backup คือการสำรองข้อมูลเพื่อจะได้มีข้อมูลสำรองมาใช้งานได้ในกรณีที่ข้อมูลชุดหลักเกิดมีปัญหาไม่ว่าจะเป็น ปัญหาจากทาง user, ปัญหาจากการโดนโจมตีทาง cyber ต่างๆ ปัญหาจากทาง Physical hardware ซึ่งจะทำให้ระบบของเรามีความมั่นคงและเสถียรยิ่งขึ้นเมื่อเรามีการทำสำรองข้อมูลไว้ และการทำ Backup ที่ดีนั้นควรทำอย่างไร เราจะยกกฎของการ Backup 3-2-1 rule มาเป็นไอเดีบเบื้องต้นสำหรับการเริ่มทำ Backup โดยจะเริ่มจาก
3 – มาจาก “ต้องมี Backup อย่างน้อยจำนวน 3 Copy”
ได้แก่ข้อมูลสำรองหลักต้นฉบับ 1 ชุด และข้อมูลสำรองอีก 2 ชุด (จะได้กระจายข้อมูลไปเก็บหลายๆ อุปกรณ์ได้) ทั้งหมด 3 ชุดได้แก่ Primary Backup + Backup ชุดที่ 2 + Backup ชุดที่ 3 ทำให้ลดโอกาสที่ข้อมูลจะสูญหาย หรือเสียหายลง
2 – มาจาก เก็บ Backup จำนวน 2 Copy ไว้ที่อุปกรณ์แตกต่างกัน
หากเก็บข้อมูลสำรองไว้ในอุปกรณ์เดียวกัน หากมีการเสียหายของอุปกรณ์จะทำให้ข้อมูลที่สำรองท้ังหมดสูญหายไปพร้อมกัน จึงต้องมีทางเลือกในการเก็บข้อมูลสำรอง เช่น Primary Backup ปกติจะอยู่ใน Internal HDD ของ Server, Backup ชุดที่ 2 ก็ควรจะอยู่ใน Internal HDD ของอีก Server นึง หรือ อาจจะเป็นอุปกรณ์อื่นที่ถอดออกได้ เช่น NAS, Tape, External Hard drive, CD, DVD หรือแม้แต่ Floppy disk ก็ได้เช่นกัน
1 – มาจาก “เก็บ Backup อย่างน้อย 1 Copy ที่ Offsite”
การที่เราแยก Backup ไว้แต่ละ Server แล้ว ก็ช่วยลดความเสี่ยง แต่ถ้า Primary Data และ Backup Copy อยู่ในสถานที่เดียวกัน แล้วอยู่มาวันนึงปัญหาที่เกิดขึ้นมันเป็นระดับ Scale ใหญ่ที่ไม่ใช่แค่ Server ที่เก็บ Primary Data พัง แต่เป็นสถานที่นั้นเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ไฟไหม้, น้ำท่วม, ปัญหาทางการเมือง หรือ อื่น ๆ เราจะไม่สามารถใช้งานหรือกู้ข้อมูลได้เลย
ทำให้เราควรจะมี Backup อย่างน้อย 1 Copy เก็บไว้ที่สถานที่อื่น เช่น บริษัท A มี Primary Data และ Backup ชุดที่ 1 เก็บไว้ที่ HQ บริษัทควรจะมี Backup ชุดที่ 2 ที่ Branch ด้วย